เป้าหมายของสถานศึกษา
เป้าหมายของสถานศึกษา

เป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จของโรงเรียนอนุบาลพิษณุโลก


มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
   1. มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ

- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ทุกคนมีทักษะในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความภาษาไทยอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ขึ้นไป และร้อยละ 90 มีทักษะในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความภาษาไทยอยู่ในระดับดีขึ้นไป
 
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ทุกคนมีทักษะในการอ่าน เขียนเรียนรู้ สู่ PISA ในระดับผ่านเกณฑ์ขึ้นไป และร้อยละ 90 มีทักษะในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความภาษาไทยอยู่ในระดับดีขึ้นไป
 
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกคนมีผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านออก (Reading Test : RT) ในระดับพอใช้ขึ้นไป และผลการประเมินความสามารถทั้ง 2 สมรรถนะอยู่ในระดับดีขึ้น
 
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 80 มีผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ในระดับพอใช้ขึ้นไป และผลการทดสอบความสามารถทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับดีขึ้นไป
 
- นักเรียนทุกคนสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการแนะนำตนเอง สถานศึกษา และสนทนาอย่างง่ายๆ โดยมีผลการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร/การสื่อสารภาษาอังกฤษในระดับผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ (เกรด 1) ขึ้นไป
 
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 90 มีผลการสอบภาษาอังกฤษ CEFR ในระดับA1 ขึ้นไป
 
- นักเรียนร้อยละ 75 ได้ระดับผลการเรียนรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ ระดับดี (เกรด 3) ขึ้นไป

2. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา

- นักเรียนทุกคนมีผลงาน/ชิ้นงานจากการทำโครงงาน  One Student One Product และสามารถสะท้อนแนวคิด ขั้นตอนการทำงาน และปัญหาอุปสรรคของการทำงานได้
 
- นักเรียนทุกคนสามารถใช้กระบวนการ Coding ในการสร้างผลงาน สามารถอธิบายเหตุผล แนวคิดในการทำงานได้
 
-นักเรียนทุกคนมีผลการเรียนด้านอ่านเขียนเรียนรู้สู่ PISA ในระดับ ดี ขึ้นไป

3. มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

- นักเรียนทุกคนมีผลงาน/โครงการที่นำไปสู่การขยายผล/ต่อยอดความคิด

4. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

- นักเรียนทุกคนสามารถสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตและสรุปความรู้ด้วยตนเองได้

 - นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้ห้องเรียนเสมือนจริง Virtual School

 - นักเรียนทุกคนรู้ประโยชน์และโทษของอินเทอร์เน็ต และรู้จักมารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเหมาะสม

5. มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

- นักเรียนร้อยละ 80 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยรวมตามหลักสูตรสถานศึกษา ตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไป

- นักเรียนทุกคนผ่านการวัดและประเมินผลการเรียนและได้เลื่อนชั้นเรียน

6. มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคนมีความรู้และทักษะพื้นฐานต่องานอาชีพอย่างน้อย 1 อย่าง

- นักเรียนทุกคนมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพต่าง ๆ 

1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

1. การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

- นักเรียนทุกคนมีคุณลักษณะพึงประสงค์และค่านิยมที่ดีตามอัตลักษณ์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลพิษณุโลก

2. ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย

- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ทุกคนสามารถบอกชื่อผู้อำนวยการโรงเรียน ครูในโรงเรียน สถานที่ต่าง ๆ ในโรงเรียนได้
 
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ทุกคนสามารถบอก อธิบาย เกี่ยวกับบุคคลสำคัญ สถานที่ ความโดดเด่นของจังหวัดพิษณุโลกได้
 
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ทุกคนสามารถรำวงมาตรฐานได้
 
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคน ร่วมพิธีบรรพชาและบวชศีลจาริณี
 
- นักเรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมทำบุญตักบาตร ทั้งที่จัดขึ้นทุกวันศุกร์และในเทศกาลสำคัญที่โรงเรียนจัดขึ้น ร่วมพิธีทางศาสนา ร่วมประเพณีของท้องถิ่น และแสดงความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสม
 
- นักเรียนทุกคนมีมารยาทที่ดีงามตามแบบไทย

3. การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

- นักเรียนทุกคนทำงานร่วมกันได้ทั้งในและระหว่างห้องเรียน

 - นักเรียนทุกคนมีความรัก สามัคคี และมีความภาคภูมิใจในความเป็นนักเรียนโรงเรียนอนุบาลพิษณุโลก

 - นักเรียนทุกคนยอมรับในความสามารถซึ่งกันและกัน

 - นักเรียนทุกคนมีมารยาทที่ดีในการสื่อสารระหว่างกัน

 - นักเรียนทุกคนแสดงความชื่นชมในความสามารถหรือความสำเร็จของเพื่อน

4. สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม

- นักเรียนร้อยละ 80 มีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์ของกรมพลศึกษาหรือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 - นักเรียนร้อยละ 80 มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัย

 - นักเรียนทุกคนไม่ข้องเกี่ยวกับสิ่งเสพติด

 - นักเรียนที่มีผลการประเมินว่ามีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต-พฤติกรรม

  ได้รับการดูแล  ให้คำปรึกษา ร่วมกันแก้ปัญหา ส่งต่อข้อมูลกับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง

 - นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยการเล่นกีฬาและการเล่นสันทนาการ


มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน

- โรงเรียนมีกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่ชัดเจน สอดคล้องกันและตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน สามารถปฏิบัติจนบรรลุเป้าหมายได้

2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

- โรงเรียนมีรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา มีการนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและเป็นแบบอย่างได้

- โรงเรียนมีเครือข่ายความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย  ทั้งเครือข่ายผู้ปกครอง นักเรียน และเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาการ

- โรงเรียนมีเครือข่ายร่วมพัฒนาวิชาการ ทั้งภายในจังหวัด ต่างจังหวัด และต่างประเทศ

2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย

- โรงเรียนดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณลักษณะ และความเป็นเลิศทางวิชาการ
 
- โรงเรียนมุ่งพัฒนานักเรียนให้มีความเป็นผู้นำ ทั้งด้านการเรียนรู้และการเป็นผู้นำกิจกรรมต่าง ๆ
 
- โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและมีการปรับปรุงหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ

2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

- โรงเรียนจัดดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพตรงตามความต้องการของครู และสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ
 
- โรงเรียนส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูและบุคลากร และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถานศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

- โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
 
- นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้จากห้องสมุดแห่งความสุข ห้องเรียน i-Classroom ห้องเรียนรู้นวัตกรรม สร้างสรรค์นักประดิษฐ์ดิจิทัล
 
- โรงเรียนมีป้ายบอกสถานที่ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของนักเรียน

2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้


- โรงเรียนใช้ระบบเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา
 
- โรงเรียนใช้แอพลิเคชั่น Group  Line, Line@, Facebook, Website เพื่อสื่อสารกับผู้ปกครองได้อย่างรวดเร็ว
 
- นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้จากห้องเรียนเสมือนจริง Virtual School เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในห้องเรียนปกติ


มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้


- ครูและบุคลากรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง (Active Learning) ตามหลักสูตรสถานศึกษา
 
- ครูมีโครงการ/แผน/กำหนดการจัดการเรียนรู้และวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อการจัดการเรียนรู้
 
- นักเรียนทุกชั้นเรียนมีชิ้นงานโครงงานของแต่ละคน สามารถอธิบายแนวความคิดในการสร้างชิ้นงานของตนได้

3.2 ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้


- ครูและบุคลากรทุกคนใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้อต่อการเรียนรู้
 
- นักเรียนทุกคนได้ใช้ห้องสมุดแห่งความสุข ห้องเรียน i-Classroom  ห้องเรียนรู้นวัตกรรมสร้างสรรค์นักประดิษฐ์ดิจิทัล ห้องคอมพิวเตอร์และห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ในโรงเรียน
 
- นักเรียนทุกระดับชั้นได้เรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก


- ครูและบุคลากรตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
 
- นักเรียนทุกคนมีสารเสริมสร้างเด็กดีศรีอนุบาล
 
- ครูทุกคนสอดแทรกคุณธรรมระหว่างการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน
 
- ครูให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน ผู้ปกครอง และแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนาผู้เรียน
 
- ครูและผู้ปกครองสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็วเพื่อแก้ไขปัญหานักเรียนร่วมกัน

3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน


- ครูและบุคลากรมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก
 
- โรงเรียนมีกำหนดการประเมินผลก่อนและหลังเรียนกับนักเรียนทุกคน
 
- ครูทุกคนมีการประชุมเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับพฤติกรรมและการเรียนของนักเรียน
 
- ครูนำผลการการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนมาจัดกิจกรรมพัฒนาให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้ และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข
 
- ครูและผู้ปกครองมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพื่อดูแลนักเรียนร่วมกัน

3.5 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้


- ครูและบุคลากรมีชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพระหว่างครูทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
 
- โรงเรียนมีเครือข่ายพัฒนาวิชาการทั้งในและต่างประเทศ
 
- โรงเรียนมีการสื่อสารระหว่างครูผู้ปกครองอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง สามารถ นำข้อมูลมาปรับปรุง แก้ไข และพัฒนานักเรียนได้อย่างถูกต้อง รวมถึงการปรับปรุงและพัฒนางานได้อย่างสอดคล้องกับความต่องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย